“วันป้องกันการฆ่าตัวตายโลก”
คุณรัชนี กล่าวว่า วันป้องกันการฆ่าตัวตายโลก ซึ่งตรงกับวันที่ 10 กันยายนของทุกปีเริ่มตั้งแต่ปี 2546 เหตุผลของเขาได้คือ เพื่อให้มวลมนุษย์ตระหนักรู้กับปัญหาการฆ่าตัวตาย และอีกอันที่สำคัญกว่า คือ มาช่วยกันป้องกันการฆ่าตัวตาย ซึ่งมีการรณรงค์ทั้งโลก ส่วนประเทศไทย จากสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย โดยหมอปราการแทนร่วมกับเครือข่ายความสุขจากโรคซึมเศร้า สมาคมองค์กรต่าง ๆ ที่มีนัยเดียวกัน ว่าให้เห็นความสำคัญว่า “พวกเราสามารถช่วยให้คนไม่ฆ่าตัวตายได้” กรมสุขภาพจิตได้ผลักดันและรณรงค์เพื่อสร้างเสริมสุขภาพจิตที่ดีเพื่อลดการสูญเสียจากการฆ่าตัวตายในประเทศไทย โดยในหลายปีที่ผ่านมาผู้คนต้องพบเจอกับอุปสรรคจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่เปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของผู้คนอย่างมหาศาลหลายคนรู้สึกหมดหวังและท้อแท้จากสถานการณ์ที่ต่อเนื่องยาวนาน เกิดภาวะเหนื่อยล้าจากโรคระบาด ปัญหาเศรฐกิจที่ส่งผลต่อหลายครอบครัวและตามมาปัญหาด้านสุขภาพจิตอย่างหลีกเลี่ยงได้ยาก
วิทยากรที่นำเสนอมีอยู่ 4 คน ที่มาของวันนี้ WHO เป็นคนกำหนดการรณรงค์ แคมเปญ “See You Tomorrow แล้วเจอกันวันพรุ่งนี้” เพื่อให้ทุกคนตระหนักถึงการสังเกตตนเองว่ามีความเสี่ยงในการรู้สึกสิ้นหวังหรือไม่ โดยสามารถสังเกตได้จาก ความคิดและความรู้สึกที่สุดขั้ว เช่น รู้สึกไร้ทางออกโดยสมบูรณ์ รู้สึกผิดอย่างไม่สามารถให้อภัยได้ หรือโกรธเกลียดอย่างรุนแรง ซึ่งความคิดและความรู้สึกเช่นนี้เป็นปัจจัยนำไปสู่การสิ้นหวังหรือหมดใจได้ง่าย รู้สึกยอมแพ้ไปหมด เชื่อมั่นว่าไม่สามารถเปลี่ยนแปลงอะไรได้แล้ว อาจบ่นและตำหนิมากขึ้นแต่ขาดแรงที่จะเดินเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปสู่สถานการณ์ที่ดีขึ้น แยกตัวจากสังคม ซึ่งยิ่งแยกตัวมากเท่าไหร่ ก็จะทำให้จมอยู่กับความเชื่อและความสิ้นหวังของตนเองมากขึ้น การตัดขาดจากสังคมจะนำไปสู่ความวิตกกังวลและอาการซึมเศร้าที่มากขึ้น ยิ่งทำให้รู้สึกสิ้นหวัง ความรู้สึกเหล่านี้อาจนำไปสู่ความรู้สึกท้อแท้สิ้นหวัง สูญเสียด้านสุขภาพจิตและการเสียชีวิตจากการฆ่าตัวตายได้ในที่สุด สำหรับแนวทางที่สามารถปฏิบัติได้ เพื่อสร้างความหวังและพลังใจในสถานการณ์ที่ยากลำบากคือ สำรวจความคิดและอารมณ์ของตนเอง หากมีลักษณะสิ้นหวังหรือสุดขั้ว ให้ลองพยายามปรับมุมมองและพยายามควบคุมความคิดและอารมณ์ให้คงที่เท่าที่จะทำได้
คุณรัชนี ทิ้งท้ายว่า “ต้องมี 3 ส. 1.สอดส่องดูแล 2.ใส่ใจรับฟัง 3.ส่งต่อเชื่อมโยง เราอย่าละเลยก็มองกันแล้วก็สิ่งที่จะช่วยเขาได้มากที่สุด คือการรับฟังฟังอย่างไม่มีเงื่อนไข ไม่ตำหนิไม่ดุ ถ้าเขาป่วยหรือมีอาการล้มจนเราเกินจนเยียวยาครอบครัว สามารถส่งต่อเชื่อมโยงที่โรงพยาบาลส่งเสริมตำบล (รพ.สต.) นอกเหนือจากเรื่องของคนรอบ ๆ ตัวนอกเหนือจากเคมีในสมองแล้ว นอกเหนือจากภาวะแวดล้อมต่างๆแล้ว ทำให้คนที่ภาวะโรคผู้ป่วยโรคซึมเศร้าเบาลงไปได้ คือ การพบแพทย์หรือทานยาจะช่วยให้หาย เช่น จิตบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพเพิ่มพลังชีวิตและต้องดูแลกันด้วย”