“ภาวะโรคไตกับคนพิการ ตอนที่ 2”
คุณธนพล ดอกแก้ว กล่าวว่า อาการของไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย แบ่งเป็น 5 ระยะ ผู้ป่วยไม่ว่าจะเป็นผู้ป่วยเบาหวาน ไตติดเชื้อ หรือการใช้ยามานาน ๆ ไตเสื่อมไปอยู่ในระยะที่สามแล้ว สามเออาจจะไม่เห็น จะมาแสดงอาการในสามบีโดยการทำงานของไตเหลือประมาณ 30% จะเริ่มเห็นอาการหน้าบวม ท้องบวม เท้าบวม หรือจะมีอาการคันตามเนื้อตัว หรือถ้าการทำงานของไตเหลือต่ำกว่า 30% การกินอาการ การรับรสอาหารเปลี่ยนไป การนอนราบไม่ได้ หายใจไม่สะดวก น้ำหนักลดลง หรืออาการนอนไม่หลับ อาการเหล่านี้บ่งบอกว่า เริ่มจะมีภาวะไตไม่ค่อยดี ต่อมาการทำงานของไตเหลือน้อยกว่า 10% เริ่มมีอาการของเสียคลั่ง มีอาการซึม เหม่อลอย อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ถ้าคนไข้กลุ่มนี้ไม่ได้รับการบำบัดทดแทนไตจะเกิดภาวะซึม ชัก และเสียชีวิตได้
เมื่อมีการบำบัดทดแทนไตแล้ว ยังพบปัญหาภาวะแทรกซ้อนหลังเกิดไตวาย มีภาวะซีดเกิดจากไตไม่สามารถสร้างฮอร์โมน Erythropoetine ทำให้เหนื่อยล้า อ่อนเพลีย วิธีการรักษาภาวะซีดให้หายต้องไปฉีดยากระตุ้นเม็ดเลือดแดง ต่อมาภาวะความดันโลหิตสูง เมื่อไตไม่สามารถผลิตฮอร์โมนที่ควบคุมความดัน คือ เรนิน (renin) ได้ ทำให้เกิดภาวะความดันโลหิตสูงได้ ต้องงดการรับประทานอาหารรสเค็ม ต้องทานยาความดันให้ตรงเวลาถึงจะคุ้มความดันได้ ภาวะที่สามคือ ภาวะเกลือแร่ในร่างกายไม่สมดุล เพราะไตเสื่อมแล้วไม่สามารถควบคุมน้ำ ควบคุมเกลือแร่ได้ ต้องมีการปรับสมดุลร่างกาย ภาวะที่สี่คือ ภาวะกระดูกพรุน เมื่อไตไม่สามารถผลิตฮอร์โมน เกลือแร่ในร่างกายได้ ภาวะน้ำเกิน สาเหตุไตไม่สามารถขับของเสียออกมาได้ ไม่สามารถขับน้ำออกมาได้ ดื่มน้ำเข้าไปเท่าไหร่จะถูกสะสมอยู่ในร่างกาย วิธีการเอาน้ำออกจากร่างกายคือ การบำบัดทดแทนโดยการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม การล้างไตทางช่องท้อง เพื่อเอาน้ำออก ต่อมาจะเกิดภาวะติดเชื้อในร่างกาย ความเข้มข้นของเลือดต่ำ หรือสุขภาพเริ่มอ่อนแอ
ปัจจัยเสี่ยงระหว่างคนทั่วไปกับคนพิการ ผมมองว่าไม่แตกต่าง เพราะคนพิการเป็นเบาหวาน คนทั่วไปเป็นเบาหวาน คนพิการเป็นความดัน คนทั่วไปเป็นความดัน ในกรณีคนพิการอาจมีภาวะความเสี่ยงมากกว่ายิ่งถ้าพิการท่อนล่างต้องมีการสวนปัสสาวะ ถ้าไม่สวนให้อยู่ในเวลาที่แพทย์กำหนด ของเสียจะย้อนกลับเข้าไปทำให้เกิดภาวะไตติดเชื้อได้ การดูแลตัวเอง หนึ่งควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์มีคุณค่ามากที่สุด เพราะโรคเรื้อรังไม่ติดต่อเป็นส่วนใหญ่เกิดจากอาหารการกิน สองการใช้ยา ในปัจจุบันการใช้ยาของประชาชนคนไทยยังไม่สมเหตุสมผล คือเวลาเจ็บป่วยไม่ไปพบแพทย์แต่เข้าไปร้านขายยาหาซื้อยากินเอง ไม่ได้ปรึกษากับเภสัชกร เพราะกลุ่มยาบางชนิดทำลายตับ ไต ได้ หรือไปทำลายเยื้อบุกระเพาะ สาเหตุที่สาม ประชาชนต้องออกกำลังกายเพื่อลดการเกิดโรค
ท้ายนี้ คุณธนพลฝากถึงพี่น้องประชาชนคนไทย ให้ดูแลสุขภาพ ให้ดูแลเรื่องอาหารการกิน ถ้าเราดูแลสุขภาพ ทำอย่างไรไม่ให้ชีวิตเจ็บป่วย ทำให้เรามีสุขภาพดีโดยไม่ต้องเป็นภาระของใคร ถ้าประชาชนมีข้อสงสัยเกี่ยวกับโรคไต ติดต่อสายด่วนเพื่อนโรคไต โทร. 083 - 833 - 3096 มีเจ้าหน้าที่คอยตอบคำถาม คอยให้ข้อมูล