ขณะนี้คุณอยู่ที่ ›

“อาชีพล่ามภาษามือ อาชีพสำหรับเทวดา-นางฟ้าจริงหรือไม่?”

บทสัมภาษณ์ : คุณนุชริน รัญญะวิทย์ ล่ามภาษามือประจำช่อง PPTV36 ช่องโมโน29 และช่อง 8 และเป็นอาจารย์ล่ามภาษามือประจำอยู่ที่ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี

           คุณนุชริน กล่าวว่า ล่ามภาษามือ คือ บุคคลที่ทำหน้าที่แปลข้อความระหว่างคนหูหนวกกับคนที่สามารถได้ยินเสียงได้ แปลจากภาษาพูดเป็นภาษามือ ให้กับคนหูหนวกเข้าใจ ถือเป็นตัวกลางของการสื่อสาร ความแตกต่างทางภาษามือแต่ละที่ ทุกประเทศมีภาษามือเฉพาะ ภาษามือมีลักษณะเฉพาะแต่ละของประเทศ ประเทศไทยมีภาษาไทยเป็นภาษาประจำชาติ คนหูหนวกจะมี "ภาษามือไทย" เป็นภาษาของเขา นอกจากนี้ยังมีภาษามืออีกชนิดหนึ่ง เรียกว่า ภาษามือสากล ในประเทศไทยของเรามีภาษามือ 2 ประเภท ประเภทแรก คือ ภาษามือธรรมชาติหรือภาษามือของคนหูหนวกในชุมชนใหญ่ทั่ว ๆ ไปที่ีมีแบบแผนชัดเจน อีกชนิดหนึ่ง เป็นภาษามือแบบภาษาพูด คือเป็นภาษามือสำหรับคนใช้ภาษามือทั่วไป เช่น คุณครู ญาติพี่น้อง ใช้สื่อสารกับคนหูหนวก ใช้ภาษามือเรียงเป็นคำ ๆ เหมือนกับภาษาพูด อาทิ คำว่า "ฉันไปกินข้าว" ก็จะเป็นเรียงเป็นคำว่า ฉันไปกินข้าวตรงตามคำ

          การเรียนภาษามือไม่จำกัดอายุ ไม่ว่าจะเป็นใครสามารถเรียนได้ เพราะความรู้ที่เรามีสามารถช่วยเหลือคนหูหนวกได้ ถ้าเราเข้าใจเขา วันหนึ่งจะพาให้เราไปเจอคนเหล่านั้น ที่เราเรียนภาษามือมาได้ช่วย แค่ทักไปว่า สวัสดี คนหูหนวกยิ้มให้ เพราะว่า มีคนเปิดใจที่จะคุยกับเขา แค่คุณกล้าทักเขา คนหูหนวกก็รู้สึกดีแล้ว 

          หลังจากจบที่ วิทยาลัยราชสุดา หลักสูตรมีวิชาเอก 2 วิชา สำหรับคนหูดีที่เรียนจบไปแล้ว สามารถเลือกได้ว่าอยากเป็นล่ามภาษามือได้ ถ้าอยากเป็นครูสามารถเป็นได้ ถ้าสอบบรรจุได้ เป็นหลักสูตรที่ทางราชสุดาฯ ตลาดงานในตอนที่เรียนมีความต้องการ เพราะว่าครูที่เป็นคนหูดีสามารถใช้ภาษามือได้มีจำนวนน้อย ครูการศึกษาพิเศษ หรือครูที่โรงเรียนโสตศึกษา หรือเป็นล่ามภาษามือ วุฒิที่ได้รับมามีทางเลือกให้สำหรับประกอบอาชีพ

          ตอนแรกที่ทำงานล่ามชุมชน ในความคิดคือ จะทำแค่หน้าที่ล่าม แล้วเรากลับบ้านไป คือมีงานเวลาที่จองมา แต่ถ้าคนหูหนวกไม่รู้สิทธิของตัวเอง คนหูหนวกไม่ออกมาสู่สังคม ถ้าทำให้องค์กรคนหนูหนวก หรือ คนหูหนวก เข้มแข็ง คนหูหนวกใช้บริการล่าม การที่ทำงานอาสาผลักดันความเข้มแข็งของคนหูหนวก และตัวเองมีรายได้เป็นเรื่องที่ต้องทำควบคู่กัน ไม่ใช่นั้นรายได้จะไม่เข้ามาไม่สามารถเลี้ยงตัวเองได้

          คุณนุชริน ทิ้งท้ายว่า “ขอฝากถึงทุกคนที่อยู่ในสังคม ไม่ว่าเป็นครอบครัวที่มีโอกาสพบเจอคนหูหนวก เพื่อนที่โรงเรียน ที่ทำงานหรือแม้แต่ในชุมชน อยากให้มีคนสนใจเรียนภาษามือหรือไม่เรียนภาษามือ แค่สนใจที่จะสื่อสารกับคนหูหนวก อย่าคิดว่าต้องแยกเขาออกไปเพราว่าคุยกันไม่รู้เรื่อง อยากให้เปิดโอกาสลองคุยกับเขาเพื่อให้เขาได้รู้สึกว่า เขาก็เป็นส่วนหนึ่งของสังคม เขาสามารถมีเพื่อนได้ถึงจะพูดคนละภาษา แต่สามารถเขียนได้ ใช้ท่าทางสื่อสารกันได้ จะได้ไม่ทำให้เขารู้สึกโดดเดี่ยวจนเกินไป ช่วยกันเพื่อนให้สังคมน่าอยู่” 

 

รายการรวมใจเป็นหนึ่ง ออกอากาศทุกวันเสาร์และวันอาทิตย์ เวลา 18.30-19.00 น. ทางสถานีวิทยุศึกษา FM 92 MHz หรือ www.moeradiothai.net

ภาพประกอบรายการวิทยุรวมใจเป็นหนึ่ง

แบบประเมินคุณภาพสื่อ สสพ.

คุณพอใจกับคุณภาพสื่อข้างต้นมากน้อยเพียงใด
  • พอใจมาก0
  • พอใจ0
  • ปานกลาง0
  • ไม่พอใจ0
  • ไม่พอใจมาก0
^ กลับสู่เนื้อหาหลัก