ขณะนี้คุณอยู่ที่ ›

“การศึกษากับคนพิการ ตอนที่ 1”

บทสัมภาษณ์ : อาจารย์ เทอดเกียรติ ฉายจรุง อาจารย์ประจำหลักสูตรการศึกษาพิเศษและการสอนภาษาไทย มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

           อ.เทอดเกียรติ กล่าวว่า ในช่วงที่โควิด – 19 แพร่ระบาด ส่งผลให้นักเรียนต้องเรียนออนไลน์ ครูอาจารย์ก็เช่นกัน ได้เป็นการฝึกใช้เทคโนโลยีให้มากขึ้นเช่นกัน แต่การประเมินผลการเรียนของนักเรียนต้องประเมินเป็นออนไลน์ซึ่งไม่สามารถวัดผลได้อย่างประจักษ์ ได้แค่การประเมินเชิงปริมาณ ถ้าพูดถึงเรื่องเชิงคุณภาพต้องอีกเรื่องหนึ่ง การศึกษาคือการเรียนรู้ เป็นการศึกษากับกลุ่มคนที่มีอายุครบ 6 ขวบย่างเข้าปีที่ 7 ซึ่งการศึกษาภาคบังคับที่มาจากรัฐธรรมนูญเป็นการศึกษาภาคบังคับจำนวน 9 ปีโดยให้เด็กซึ่งมีอายุย่างเข้าปีที่ 7 เข้าเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจนอายุย่างเข้าปีที่16 เว้นแต่สอบได้ชั้นปีที่เก้าของการศึกษาภาคบังคับหลักเกณฑ์และวิธีการนับอายุให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวงก่อนหน้าปี 2534 การศึกษาถูกจำกัดไว้เฉพาะนิยามคนที่ปกติ คนปกติคือคนที่ร่างกายสมบูรณ์ ไม่มีอุปสรรคในการเรียน
         เริ่มแรกเลย มูลนิธิอนุเคราะห์คนพิการไม่ได้ตั้งใจพาคนพิการไปเรียน แต่ด้วยคนพิการที่เป็นโปลิโอ เข้ารับการผ่าตัดฟื้นฟู เช่น ยืดขาออก ใส่เบรส หรืออย่างหนึ่งอย่างใด เพื่อให้สามารถช่วยเหลือตนเองได้ ในขณะที่ผ่าตัดฟื้นฟู ต้องใช้เวลาพักรักษาตัวอย่างน้อย 3 – 6 เดือน เพื่อฟื้นฟูร่างกาย จึงมีแนวคิดว่า “จะให้เด็กอยู่เฉย ๆ ทำไม” จึงนำเรื่องการศึกษาเข้าร่วมกับการฟื้นฟูด้วย จึงเกิดโรงเรียนศรีสังวาล นนทบุรีขึ้น
         ปี 2534 มีการเคลื่อนไหวของคนพิการ โดยพันโท ต่อพงษ์  กุลครรชิต และคณะฯ เพื่อเรียกร้องสิทธิให้คนพิการ สิทธิเรื่องการฟื้นฟู สิทธิสวัสดิการการรักษาพยาบาล สิทธิการเรียนการศึกษา จึงเกิด พรบ.ฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ.2534
         พรบ.การศึกษาของคนพิการ  มาตรา 43 ระบุว่า “บุคคลยอมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ไม่นอยกวาสิบสองปี รัฐจะตองจัดใหอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บคาใชจ่ายและจัดการศึกษา ขั้นพื้นฐานให้กับผู้พิการและผู้ด้อยโอกาสเป็นพิเศษ และจะตองจัดให้กับผู้มีความสามารถพิเศษด้วย รูปแบบอันเหมาะสมกับความสามารถของบุคคล” และ มาตรา 30 วรรค 3 ระบุว่า “ต้องไม่เลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมต่อบุคคล เหตุที่แตกต่าง เพศ ภาษา อายุ สภาพร่างกายหรือสุขภาพของบุคคลจะกระทำได้” หมายถึง คนไทยทุกคนย่อมมีสิทธิเข้าถึงการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างเท่าเทียมกัน ซึ่งรัฐต้องจัดสื่อ สิ่งอำนวยความสะดวก การช่วยเหลืออย่างใดอย่างหนึ่งไว้ให้ ตามมาตรา 55  ระบุว่า “บุคคลซึ่งพิการ หรือทุพพลภาพมีสิทธิได้รับสิ่งอํานวย ความสะดวก อันเป็นสาธารณะและความช่วยเหลืออื่นจากรัฐ ทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ”
         เมื่อมีโรงเรียนเฉพาะทางเกิดขึ้น โรงเรียนศึกษาพิเศษ เช่น โรงเรียนศึกษาพิเศษขอนแก่น โรงเรียนศึกษาพิเศษกาฬสินธุ์ โรงเรียนศึกษาพิเศษร้อยเอ็ด โรงเรียนศึกษาพิเศษปราจีนบุรี โรงเรียนศึกษาพิเศษเชียงใหม่ ซึ่งอยู่ภายใต้กองการศึกษาพิเศษ รวมไปถึงโรงเรียนราชประชาด้วย หลังจากนั้นมีการปรับเปลี่ยนเป็น สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ) และ กองการบริหารงานการศึกษาพิเศษ ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัด เด็กพิการมีโอกาสเข้ารับการศึกษามากขึ้น
         โรงเรียนเฉพาะด้านร่างกาย ขึ้นต้นด้วยว่า โรงเรียนศรีสังวาลตามด้วยชื่อจังหวัด เช่น โรงเรียนศรีสังวาลย์ขอนแก่น โรงเรียนศรีสังวาลย์ชัยนาท โรงเรียนศรีสังวาลย์นนทบุรี โรงเรียนศรีสังวาลย์เชียงใหม่ โรงเรียนเฉพาะคนตาบอด ใช้ชื่อว่า โรงเรียนสอนคนตาบอดตามด้วยชื่อจังหวัด เช่น โรงเรียนสอนคนตาบอดขอนแก่น โรงเรียนสอนคนตาบอดร้อยเอ็ด โรงเรียนของคนหูหนวก ขึ้นต้นว่า โสต แล้วตามด้วยชื่อจังหวัด เช่น โรงเรียนโสตศึกษาขอนแก่น โรงเรียนโสตศึกษาร้อยเอ็ด โรงเรียนโสตศึกษาทุ่งมหาเมฆ กลุ่มสติปัญญา จะตามหลังด้วยคำว่า ปัญญานุกูล เช่น โรงเรียนกาฬสินธุ์ปัญญานุกูล โรงเรียนแพทย์ปัญญานุกูล เป็นต้น

... สามารถติดตามรับฟังรายการรวมใจเป็นหนึ่ง ได้ทางสถานีวิทยุศึกษา FM 92 MHz หรือ www.moeradiothai.net

รายการรวมใจเป็นหนึ่ง ออกอากาศทุกวันเสาร์และวันอาทิตย์ เวลา 18.30-19.00 น. ทางสถานีวิทยุศึกษา FM 92 MHz

ภาพประกอบรายการวิทยุรวมใจเป็นหนึ่ง

แบบประเมินคุณภาพสื่อ สสพ.

คุณพอใจกับคุณภาพสื่อข้างต้นมากน้อยเพียงใด
  • พอใจมาก0
  • พอใจ0
  • ปานกลาง0
  • ไม่พอใจ0
  • ไม่พอใจมาก0
^ กลับสู่เนื้อหาหลัก