ขณะนี้คุณอยู่ที่ ›

จังหวัดสุราษฎร์ธานีจัดงานวันคนพิการสากล ประจำปี 2565

วันที่ลงข่าว: 30/01/23

          วันที่  27 ม.ค. 66 ณ ศูนย์บริการคนพิการจังหวัดสุราษฎร์ธานี อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี นายวิชวุทย์ จินโต ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี มอบหมายให้ นายบันดาร สถิรชวาล รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นประธานในพิธีเปิดงานวันคนพิการสากลจังหวัดสุราษฎร์ธานี ประจำปี 2565 โดยมีนางสาวชลลดา ชนะศรีรัตนกุล พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดสุราษฎร์ธานี พร้อมด้วยเครือข่ายผู้พิการจังหวัดสุราษฎร์ธานีและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมพิธี

          โดยปัจจุบันจังหวัดสุราษฎร์ธานี มีคนพิการที่ได้รับการออกบัตรประจำตัวคนพิการ จำนวน 23,702 คน มีคนพิการยื่นใช้สิทธิการกู้ยืมเงินจากกองทุนส่งเสริมและพัฒนาชีวิตคนพิการ จำนวน 3,566 คน โดยกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้ส่งเสริมให้คนพิการสามารถเข้าถึงสิทธิสวัสดิการขั้นพื้นฐานได้อย่างสะดวกรวดเร็วโดยการนำเทคโนโลยีเข้ามาประยุกต์ใช้ในการให้บริการคนพิการผ่านระบบยื่นคำขอมีบัตรประจำตัวคนพิการออนไลน์เชื่อมโยงกับศูนย์บริการคนพิการแบบเบ็ดเสร็จ ( One Stop Service)ณ โรงพยาบาลประจำจังหวัด และได้จัดแอปพลิเคชั่นบัตรประจำตัวคนพิการ ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลในการพัฒนาให้เป็นรัฐบาลดิจิทัลในอนาคตการจัดงานวันคนพิการสากลจังหวัดสุราษฎร์ธานี ประจำปี 2565 ในวันนี้ได้รับความร่วมมืออย่างดียิ่งจากหน่วยงานในสังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี องค์กรภาคเอกชน องค์กรคนพิการในจังหวัดสุราษฎร์ธานี

           ซึ่งกิจกรรมในวันนี้ประกอบด้วย การมอบรถโยกสำหรับคนพิการ การมอบป้ายสัญลักษณ์สถานที่เป็นมิตร การจับของขวัญ ของรางวัลให้แก่คนพิการ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน

รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี กล่าวว่า รัฐบาลให้ความสำคัญต่อการส่งเสริมสิทธิ โอกาส และความเสมอภาคอย่างเท่าเทียมของคนพิการ โดยได้กำหนดในยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี(พ.ศ. 2560 - 2579) ยุทธศาสตร์ที่ 4 ยุทธศาสตร์การสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม โดยมุ่งหวังให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่ทุกคนมีโอกาสและความเสมอภาคในทุกด้าน หรือการเป็น "สังคมแห่งโอกาส"โดยในปีที่ผ่านมาได้มีการปฏิรูปการขึ้นทะเบียนคนพิการ เพื่อให้คนพิการได้รับสิทธิสวัสดิการและความช่วยเหลือได้อย่างครอบคลุมและทั่วถึงโดยได้มีการทบทวนการกำหนดคำนิยามและแนวทางการประเมินความพิการ

           รวมทั้งการแก้ไขระเบียบฯ เพื่อให้คนพิการสามารถเข้าถึงการขึ้นทะเบียน ได้อย่างรวดเร็วมากยิ่งขึ้น การพัฒนาระบบบริการคนพิการผ่านกลไกศูนย์บริการคนพิการแบบเบ็ดเสร็จ (One Stop Senvice ) ณ โรงพยาบาล ซึ่งได้มีการจัดตั้งนำร่องกับโรงพยาบาลทั่วประเทศอย่างน้อยจังหวัดละ 1 แห่ง การพัฒนาระบบแอปพลิเคชัน "บัตรประจำตัวคนพิการดิจิทัล" ซึ่งคนพิการสามารถยื่นขอรับสิทธิ สวัสดิการผ่านบัตรติจิหัสได้เสมือนบัตรจริง นอกจากนี้ มีการพัฒนาและส่งเสริมให้คนพิการมีงานทำกว่า 70,000 ราย ปรับปรุงสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยให้กับคนพิการ กว่า 3,000 รายและริเริ่มโครงการจัดหาครอบครัวอุปการะให้กับคนพิการที่ไม่มีผู้ดูแลเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้คนพิการได้อยู่กับครอบครัว

ที่มาของข่าว สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์
^ กลับสู่เนื้อหาหลัก