ขณะนี้คุณอยู่ที่ ›

มูลนิธิอนุเคราะห์คนพิการฯ จัดกิจกรรมเทิดพระเกียรติ 72 พรรษาจิตอาสาถวายมหาราชา บูรณาการกับสมรรถนะการเรียนรู้ของนักเรียน

วันที่ลงข่าว: 31/07/24

          โรงเรียนศรีสังวาลย์ ของมูลนิธิอนุเคราะห์คนพิการฯ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี จัดโครงการ 72 พรรษาจิตอาสาถวายมหาราชา บูรณาการกับสมรรถนะการเรียนรู้ของนักเรียน

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2567  เวลา 07.45 น. โรงเรียนศรีสังวาลย์ของมูลนิธิอนุเคราะห์คนพิการฯ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี จัดโครงการ 72 พรรษาจิตอาสาถวายมหาราชา โดยมีการจัดตั้งขบวนเทิดพระเกียรติ 72 พรรษาจิตอาสาถวายมหาราชา ณ ลานพระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี และเคลื่อนขบวนเทิดพระเกียรติ 72 พรรษาจิตอาสาถวายมหาราชา   ณ บริเวณสนามโรงเรียนศรีสังวาลย์  เวลา 08.20 น. มีพิธีเปิดงานโครงการ 72 พรรษาจิตอาสาถวายมหาราชา โดยมีผู้อำนวยการโรงเรียน ผู้อำนวยการมูลนิธิอนุเคราะห์คนพิการฯ ผู้จัดการและรองผู้อำนวยการโรงเรียน รับมอบธงตราสัญลักษณ์พิธีถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  ถวายพานพุ่มสักการะและชมการแสดงเทิดพระเกียรติ 72 พรรษาจิตอาสาถวายมหาราชา ชื่อชุดวิจิตรลักขณา นาฏยถวายมหาราชา 

          จากกนั้น เวลา 09.00 น. นักเรียนได้เข้าร่วมกิจกรรมบูรณาการฐานสมรรถนะ พระราชกรณียกิจเฉลิมพระเกียรติ ประกอบด้วย 1. ตามพระองค์ยอดนักบิน  2 เรือเล็กออกจากฝั่ง 3. โคกหนองนาวาไรตี้  4. เครื่องว่างชาววัง  5. ธรรมะของพระราชา  6. โดดร่มจิ๋ว  7. ของขวัญล้ำค่า  8. ทหารของพระราชา 9. ถอดรหัสคำราชาศัพท์ 10. มณีอันล้ำค่า 11. วัด วัง บวร 12. สืบสานเพลงของพ่อ และ 13.  Visible Learning  

          พระปลัดสรวิชญ์  อภิปญฺโญ,ผศ.ดร. อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา ในฐานะวิทยากรประจำฐานการเรียนรู้ “โคกหนองนาวาไรตี้” กล่าวว่า  เมื่อปี 2566 ได้รับการสนับสนุนจาก สกสว. ให้ทำงานวิจัยเรื่อง โคก หนอง นา โมเดล : การจัดการเรียนรู้แบบบ้านเรียน สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา จึงได้นำองค์ความรู้ที่ได้จากการวิจัยมาจัดประสบการณ์เรียนรู้ให้กับนักเรียน มุ่งให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้เรื่อง อาชีพ การวางแผน ออกแบบ ฝึกคิดผ่านกระบวนการเกษตรทฤษฎีใหม่ และเข้าใจองค์ประกอบของธรรมชาติที่เกี่ยวข้อง เป็นการจัดประสบการณ์เรียนรู้เกี่ยวกับโคกหนองนาโมเดลตามแนวพระราชดำริและหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาเพื่อสร้างคุณค่าแท้ให้กับชีวิต  ผสมผสานเกษตรทฤษฎีใหม่เข้ากับภูมิปัญญาพื้นบ้านที่สอดคล้องกับบริบทและธรรมชาติในพื้นที่    ผ่านการออกแบบพื้นที่การเกษตรแบบพอเพียง 

ที่มาของข่าว หนังสือพิมพ์บ้านเมืองออนไลน์
^ กลับสู่เนื้อหาหลัก