ขณะนี้คุณอยู่ที่ ›

จังหวัดแพร่ประชุมคณะกรรมการบริหารศูนย์อำนวยการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (คจพ.จ.)

วันที่ลงข่าว: 16/03/22

          วันที่ 16 มี.ค.65 เวลา 09.00 น ณ ห้องประชุมเวียงโกศัย ศาลากลางจังหวัดแพร่ นายสมหวัง พ่วงบางโพ ผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการบริหารศูนย์อำนวยการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อรับทราบการดำเนินงานตามแนวทางการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนในระดับพื้นที่จังหวัดแพร่ ปี 2565

          แนวทางการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนของจังหวัดแพร่ สรุปการดำเนินงานปี 2565 ได้แก่ วิเคราะห์สภาพปัญหาและกำหนดแนวทางแก้ไขปัญหา จัดทีมพี่เลี้ยง นำข้อมูลระบบ TPMap ลงพื้นที่เป็นรายครัวเรือนเพื่อร่วมกับบุคคลและครัวเรือนเป้าหมาย วิเคราะห์สภาพปัญหา และร่วมกำหนดแนวทางการแก้ไข จัดให้มีการบันทึกข้อมูลจำแนกประเภทครัวเรือนโครงการกิจกรรม มีทีมปฏิบัติการจำแนกครัวเรือน 3 ประเภท ทีมปฏิบัติการรวบรวมแนวทางแก้ไขปัญหาของครัวเรือน จำแนกกิจกรรมเป็นรายมิติ จัดให้มีการประชุม คจพ.อ. เพื่อนำแผนงานโครงการจากเมนูแก้จนมาเป็นกรอบแนวทาง การให้ความช่วยเหลือติดตามการดำเนินงานรายงานผลดำเนินการให้ความช่วยเหลือช่วงเดือนพฤษภาคมถึงกันยายน 2565 ให้หน่วยงานต่างๆให้ความช่วยเหลือตามโครงการแก้ไขปัญหาทุกครัวเรือนให้เสร็จสิ้นในระดับอำเภอ บันทึกข้อมูลในระบบ Logbook โดยทีมที่เลี้ยงร่วมติดตามให้ความช่วยเหลือติดตามการดำเนินงานรายงานผลตามลำดับ

        สรุปข้อมูลการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยของจังหวัดแพร่ จำนวนครัวเรือนยากจนเป้าหมายเดิมจาก TPMap จำนวน 2,983 ครัวเรือน พบเป้าหมายใหม่ จำนวน 416 ครัวเรือน ตกเกณฑ์จำนวน 506 ครัวเรือน รวม 922 ครัวเรือน ที่จะต้องเร่งดำเนินการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืน โดยผลการให้ความช่วยเหลือโครงการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงปี 2565 แยกเป็นรายอำเภอดังนี้ อำเภอเมืองแพร่ จำนวน 242 ครัวเรือน อำเภอร้องกวาง จำนวน 178 ครัวเรือน อำเภอลอง จำนวน 144 ครัวเรือน อำเภอสูงเม่น จำนวน 34 ครัวเรือน อำเภอเด่นชัย จำนวน 22 ครัวเรือน อำเภอสอง จำนวน 183 ครัวเรือน อำเภอหนองม่วงไข่ จำนวน 34 ครัวเรือน เทศบาลเมืองแพร่ จำนวน 82 ครัวเรือน

          สำหรับตัวอย่างเมนูแก้จนภายใต้แนวคิดความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ได้แก่ "อยู่รอด" โดยสมัครบัตรประจำตัวผู้พิการให้หลานที่พิการ เพื่อรับเบี้ยผู้พิการเพิ่มเติม "พอเพียง" โดยจัดทำบัญชีครัวเรือนให้เห็นถึงค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น เช่น ค่าบุหรี่ และแอลกอฮอล์ ปัจจุบันอยู่เกือบร้อยละ 15 ของค่าใช้จ่ายทั้งหมด "ยั่งยืน" โดยฝึกอบรมอาชีพและหางานให้ผู้สูงอายุให้สามารถทำงานจากที่บ้านหารายได้และดูแลลูกหลานไปพร้อมกัน

          ทั้งนี้สามารถดูข้อมูลการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงจังหวัดแพร่ ภายใต้แนวคิด "เคาะประตูแก้จน พัฒนาคนทุกช่วงวัยจังหวัดแพร่" ทางเว็บไซต์ของสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดแพร่ (https://phrae.cdd.go.th)

 

ที่มาของข่าว สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์
^ กลับสู่เนื้อหาหลัก