แผนแม่บทการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกด้านคมนาคมขนส่งสำหรับคนทุกคน ตอนที่1
สืบเนื่องจากที่ประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ในปี 2564 ประกอบกับการเกิดอุบัติเหตุของประเทศไทยสูงเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก ส่งผลให้จำนวนผู้สูงอายุและคนพิการเพิ่มสูงขึ้น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 กำหนดให้ประชาชนต้องได้รับสิทธิเสรีภาพอย่างเท่าเทียมสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี พ.ศ.2561 – 2580 รวมถึงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ.2560 – 2564 แผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคม พ.ศ.2558 – 2565 ที่มุ่งเน้นการพัฒนาเสริมศักยภาพของคน สร้างโอกาสความเสมอภาคเท่าเทียม
ขอบเขตการดำเนินโครงการศึกษาจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกด้านคมนาคมขนส่งสำหรับทุกคน ประกอบด้วย 4 ส่วน ดังนี้
1) การรวบรวม วิเคราะห์ และสรุปผลข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่างๆที่เกี่ยวข้อง เพื่อใช้ในการจัดทำแผนแม่บทฯ ประกอบด้วย การรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิและข้อมูลทุติยภูมิ
2) การศึกษาและจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกด้านคมนาคมขนส่งสำหรับคนทุกคน โดยการวิเคราะห์ ประมวลผลข้อมูลปฐมภูมิและข้อมูลทุติยภูมิเพื่อจัดทำแผนฯ ซึ่งจะนำไปสู่กรอบชี้นำการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกในโครงสร้างพื้นฐานและการบริการภาคการขนส่งให้ครอบคลุมทั้งประเทศที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี ตลอดจนแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ยุทธศาสตร์การพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกและเพิ่มประสิทธิภาพการบริการในภาคขนส่งสำหรับคนพิการและผู้สูงอายุ
3) การประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการศึกษา การประชาสัมพันธ์และการมีส่วนร่วมของประชากร การจัดสัมมนาเพื่อรับฟังความเห็นฯ การจัดกิจกรรมเผยแพร่องค์ความรู้ /ผลการศึกษาโครงการ และการจัดกิจกรรมสร้างเครือข่ายฯ เช่น การประกวดแบบ และคัดเลือกพื้นที่ในการออกแบบปรับปรุงอาคารสถานที่หรือสถานีขนส่ง 4 ภูมิภาค
4) การพัฒนาความรู้ ความเชี่ยวชาญทางวิชาการฯ จัดการอบรมหลักสูตรความรู้ด้านการออกแบบตรวจสอบและประเมินผลฯ และหลักสูตรการอบรมทักษะการบริการ ให้กับบุคลากรภาคการขนส่ง
ระบบคมนาคมขนส่งที่เข้าถึงได้อย่างเสมอภาคและเท่าเทียม (Inclusive Transport) เป็นการยกระดับการขนส่งให้สามารถรองรับผู้ใช้งานได้ทุกกลุ่ม (Universal Design/Transport for all) ทั้งกลุ่มผู้สูงอายุ ผู้พิการ และเด็ก เพื่อให้ประชำชนทุกกลุ่มสามารถเข้าถึงการบริการขนส่งได้อย่างสะดวก (Accessibility) มีค่าโดยสารที่เหมาะสม (Affordability) และมีประสิทธิภาพ เป็นต้น โดยเริ่มตั้งแต่การออกแบบ และพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและการให้บริการ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการพัฒนาสังคมไทย เปิดโอกาสในการเดินทางให้ประชาชนทุกกลุ่มสามารถเข้าร่วมกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคม โดยใช้บริการระบบขนส่ง สาธารณะและขนส่งมวลชนได้อย่างทั่วถึงและเท่าเทียม ซึ่งต้องมีการพัฒนาทั้งด้านโครงสร้างพื้นฐานและการบริหารจัดการรวมทั้งการพิจารณามาตรการสนับสนุนค่าโดยสาร (Subsidy) แก่นักเรียน นักศึกษา ผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้มีรายได้น้อยหรือผู้ด้อยโอกาสทำงสังคม เป็นต้น ทั้งนี้ แนวคิดในการพัฒนาทั้ง 3 ประเด็นดังกล่าวข้างต้นจะต้องส่งเสริมและพัฒนาบุคลากร เทคโนโลยีการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) ในการนำเครื่องมือด้านนวัตกรรม (Innovation) และการบริหารจัดการ (Management) ที่มีประสิทธิภาพ มาใช้เป็นเครื่องมือสำคัญ ในกระบวนการพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งและการขับเคลื่อนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในทุกขั้นตอน เริ่มตั้งแต่การศึกษาวิเคราะห์โครงการ การออกแบบ การก่อสร้าง การใช้งานโครงสร้างพื้นฐาน และการติดตาม ประเมินผล รวมทั้งการมีระบบบริหารจัดการที่ดีในการลงทุนโครงการต่างๆ ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการ คมนาคมขนส่งในอนาคต
... สามารถติดตามรับฟังรายการรวมใจเป็นหนึ่ง ได้ทางสถานีวิทยุศึกษา FM 92 MHz หรือ www.moeradiothai.net