แผนแม่บทการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกด้านคมนาคมขนส่งสำหรับคนทุกคน ตอนที่ 2
กลยุทธ์ที่ 1.1 การขับเคลื่อนนโยบาย การดำเนินงานที่ช่วยส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวก และการเชื่อมโยงการเดินทางสำหรับคนทุกคน กลยุทธ์ที่ 1.2 ปรับปรุงโครงสร้างการบริหารและการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนทุกคน 1.3 บูรณาการกฎหมายและแก้ไขกฎระเบียบโครงสร้างพื้นฐานจัดสิ่งอำนวยความสะดวก ด้านการขนส่งเพื่อให้ทุกคนสามรถเข้าถึงได้ และใช้ประโยชน์ได้อย่างเสมอภาค
แนวทางที่ 2 แนวทางการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบคมนาคมขนส่ง มีกลยุทธ์ที่ 2.1 ปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งและยานพาหนะในปัจจุบันให้ได้มาตรฐาน 2.2 ยกระดับเกณฑ์มาตรฐานสิ่งแวดล้อมทางกายภาพและสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนทุกคน โครงสร้างพื้นฐานและยานพาหนะใหม่ 2.3 เพิ่มความสามารถในการเข้าถึงบริการและใช้ประโยชน์ได้ในบริการสำหรับคนทุกคน 2.4 พัฒนามาตรฐานการให้บริการสำหรับคนทุกคนให้ได้คุณภาพ 2.5 ยกระดับการกำกับดูแล การติดตามและประเมินผล การปรับปรุงการก่อสร้าง การบำรุงรักษาโครงสร้าง สิ่งอำนวยความสะดวกและยานพาหนะสำหรับคนทุกคน
แนวทางการพัฒนาที่ 3 ด้านการพัฒนาบุคลากร ด้านองค์กรการขนส่งสำหรับคนทุกคน มีกลยุทธ์ที่ 3.1 สร้างศูนย์การเรียนรู้ การเข้าถึงการใช้บริการ 3.2 สร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับการจัดสิ่งอำนวยความสะดวก การออกแบบ การช่วยเหลือ และการให้บริการแก่คนพิการและผู้สูงอายุ การดำเนินกิจกรรที่เกี่ยวข้องต่อเนื่อง 3.3 สร้างผู้ตรวจสอบมาตรฐานสิ่งอำนวยความสะดวกการคมนาคมขนส่งสำหรับคนทุกคน 3.4 สร้างความรับรู้ที่เกี่ยวกับการมีส่วนร่วมจิตบริการที่ดี
กระทรวงคมนาคมได้ตระหนักถึงความสำคัญในการวางแผนพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งในระยะยาว จึงได้จัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งของไทย ระยะ 20 ปี โดยแบ่งเป็น 4 ช่วงเวลา ระยะละ 5 ปี ซึ่งการพัฒนาทั้ง 4 ระยะนั้น จะดำเนินการตามแนวคิดการพัฒนาระบบคมนาคมขนส่ง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการคมนาคมขนส่ง (Efficiency) ให้ประชาชนทุกคนสามารถเข้าถึงระบบคมนาคมขนส่งได้อย่างสะดวกทั่วถึง (Inclusive Transport) และปลอดภัย เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Green and Safe Transport) ตลอดจนการนำนวัตกรรม เทคโนโลยี และการบริหารจัดการมาใช้เป็นเครื่องมือสำคัญในกระบวนการพัฒนา ระบบคมนาคมขนส่งในทุกระยะของการพัฒนา 8.1 ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2560 - 2564) มุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาพื้นฐานเร่งด่วนด้านคมนาคมขนส่ง (Critical Transport Issues) และเร่งผลักดันการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งในส่วนที่ไม่สมบูรณ์หรือเป็นคอขวด (Missing Link/Bottleneck) ตามแนวเส้นทางหลัก (Main Transport Corridor) โดยมุ่งเน้นการดำเนินการ ดังนี้
1) แก้ไขปัญหาจราจรในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และเมืองหลักในภูมิภาค ทั้งทาง กายภาพและการบังคับใช้กฎหมายเพื่อลดการใช้รถยนต์ส่วนบุคคล โดยพิจารณาบังคับใช้มาตรการการบริหาร จัดการความต้องการในการเดินทาง เช่น การจำกัดจำนวนรถยนต์ส่วนบุคคลที่เข้าสู่ย่านธุรกิจ การลดจำนวน ที่จอดรถยนต์ และการเก็บค่าธรรมเนียมการใช้ถนน เป็นต้น
2) เร่งพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล รวมทั้งในเมืองหลัก 6 แห่ง ในภูมิภาค ประกอบด้วย จังหวัดเชียงใหม่ พิษณุโลก ขอนแก่น นครราชสีมา ภูเก็ต และสงขลา
3) แก้ไขปัญหาอุบัติเหตุทางถนน จากกรอบปฏิญญามอสโก กำหนดให้ปี 2554-2563 เป็น “ทศวรรษแห่งความปลอดภัยทางถนน” (Decade of Action for Road Safety) โดยมีเป้าหมาย ลดอัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนให้ต่ำกว่า 10 คนต่อประชากรแสนคนในปี พ.ศ. 2563 มาตรการ ติดตั้ง GPS ควบคุมความเร็วและพฤติกรรมในการขับขี่รถสาธารณะ การฝึกอบรมพนักงานขับรถ และ การเข้มงวดในกฎ ระเบียบ เป็นต้น
4) พัฒนาระบบรางระหว่างเมืองเพื่อการขนส่งสินค้าและผู้โดยสาร ทั้งระบบรางที่มีอยู่เดิม ขนาด 1 เมตร (Meter Gauge) และขนาด 1.435 เมตร (Standard Gauge) โดยมีเป้าหมายในการเพิ่มสัดส่วน การขนส่งทางราง
5) พัฒนาพื้นที่ตามแนวเส้นทางรถไฟและรถไฟฟ้า (TOD)
6) พัฒนาระบบคมนาคมขนส่งที่ส่งเสริมระบบโลจิสติกส์และการพัฒนาพื้นที่เฉพาะ เช่น เขตเศรษฐกิจพิเศษ และพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก
7) พัฒนาระบบขนส่งที่ประหยัดพลังงานและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เช่น การพัฒนาโครงข่าย ระบบราง ส่งเสริมการใช้รถยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicles: EV) การจัดซื้อรถโดยสารไฟฟ้า เป็นต้น
8) พัฒนาการเข้าถึงระบบขนส่งของคนทุกกลุ่ม ได้แก่ ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้มีรายได้น้อย
9) พัฒนาและส่งเสริมมาตรฐานคุณภาพการให้บริการระบบคมนาคมขนส่งทุกรูปแบบ ด้วยการฝึกอบรมผู้ให้บริการขนส่งและบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ให้มีความรู้ สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีมาตรฐาน โดยเน้นการน าเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาระบบคมนาคมขนส่ง อย่างเหมาะสม รวมทั้งการปฏิรูป ปรับปรุงบทบาทองค์กร และกฎหมาย เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนา ระบบคมนาคมขนส่งของประเทศ
... สามารถติดตามรับฟังรายการรวมใจเป็นหนึ่ง ได้ทางสถานีวิทยุศึกษา FM 92 MHz หรือ www.moeradiothai.net