ขณะนี้คุณอยู่ที่ ›

"วราวุธ" เผย พม. ขยายศูนย์พักพิงชั่วคราว ครบ 77 จังหวัด พร้อมช่วยเหลือ กลุ่มเปราะบางผู้ประสบภัยพิบัติ โทรสายด่วน 1300

วันที่ลงข่าว: 15/10/24

          วันนี้ (12 ต.ค.67) นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รมว.พม.) เปิดเผยว่า ได้รับรายงานจากนายอนุกูล ปีดแก้ว ปลัดกระทรวง พม. ถึงความคืบหน้าการช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางในสถานการณ์ภัยพิบัติ ว่า ศูนย์เร่งรัดจัดการสวัสดิภาพประชาชน (ศรส.) กระทรวง พม. รายงานการให้ความช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางจากหน่วยงานในสังกัดกระทรวง พม. ในสถานการณ์ภัยพิบัติ ตั้งแต่วันที่ 15 สิงหาคม - 11 ตุลาคม 2567 พบว่า มีพื้นที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ภัยพิบัติ 45 จังหวัด 136 อำเภอ 546 ตำบล 2,600 หมู่บ้าน ทั่วทุกภาคของประเทศ โดยมีประชาชนกลุ่มเปราะบางได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ภัยพิบัติ 67,518 ครัวเรือน 80,780 ราย แบ่งเป็นกลุ่มเด็ก 9,416 ราย เยาวชน 7,558 ราย คนพิการ 12,178 ราย ผู้สูงอายุ 40,392 ราย และผู้มีรายได้น้อย 11,236 ราย ซึ่งขณะนี้ กระทรวง พม. โดยหน่วยงาน ทีม พม. หนึ่งเดียวจังหวัดทั่วประเทศ ได้ทยอยเข้าช่วยเหลือประชาชนกลุ่มเปราะบางโดยบูรณาการการทำงานร่วมกับภาคีเครือข่ายในพื้นที่ โดยได้ให้ความช่วยเหลือประชาชนกลุ่มเปราะบาง อาทิ เงินสงเคราะห์ต่างๆ การให้คำปรึกษาแนะนำเรื่องสิทธิสวัสดิการต่างๆ การซ่อมแซมปรับปรุงที่อยู่อาศัย การจัดการรายกรณี (CM) และการมอบเครื่องอุปโภคบริโภคที่จำเป็น โดยศูนย์รับบริจาคกระทรวง พม. ได้รับความร่วมมือจากภาคธุรกิจเอกชน อาทิ ถุงยังชีพ  ข้าวกล่อง อาหารสำเร็จรูป น้ำดื่ม ยารักษาโรค ผ้าอ้อมสำเร็จรูป ผลิตภัณฑ์ซักผ้า และกายอุปกรณ์คนพิการ อีกทั้งมีการการตั้งโรงครัวร่วมกับจังหวัดต่างๆ 

          นายวราวุธ กล่าวว่า ล่าสุดกระทรวง พม. ได้เปิดพื้นที่หน่วยงานทีม พม.หนึ่งเดียวจังหวัด เป็นศูนย์พักพิงชั่วคราวในการรองรับผู้ประสบภัยครบทั้ง 77 จังหวัดทั่วประเทศ รวม 197 แห่ง ประกอบด้วย 

          1. ภาคกลาง 19 จังหวัด 48 แห่ง ดังนี้ 1) จังหวัดสุพรรณบุรี 3 แห่ง ได้แก่ ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่งจังหวัดสุพรรณบุรี  บ้านพักเด็กและครอบครัวจังหวัดสุพรรณบุรี และสำนักงานการเคหะจังหวัดสุพรรณบุรี 2) จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 4 แห่ง ได้แก่ ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่งจังหวัดพระนครศรีอยุธยา  บ้านพักเด็กและครอบครัวจังหวัดพระนครศรีอยุธยา  ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุวาสนะเวศม์ และการเคหะบ่อโพง 3) จังหวัดนครปฐม 4 แห่ง ได้แก่ ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่งจังหวัดนครปฐม  บ้านพักเด็กและครอบครัวจังหวัดนครปฐม  สำนักงานเคหะสาขา 1 และ สาขา 2  4) จังหวัดชัยนาท 2 แห่ง ได้แก่ ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่งจังหวัดชัยนาท และ บ้านพักเด็กและครอบครัวจังหวัดชัยนาท 5) จังหวัดสมุทรปราการ 3 แห่ง ได้แก่ ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่งจังหวัดสมุทรปราการ ศูนย์พัฒนาศักยภาพและฝึกอาชีพคนพิการพระประแดง และสถานสงเคราะห์คนพิการพระประแดง 6) กรุงเทพมหานคร 1 แห่ง ได้แก่ สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านเกร็ดตระการ 7) จังหวัดลพบุรี 5 แห่ง ได้แก่ อาคารพักสำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 7  อาคารศูนย์พัฒนาศักยภาพและอาชีพคนพิการ บ้านโมกุลฯ  บ้านพักเด็กและครอบครัวจังหวัดลพบุรี  อาคารเช่าของการเคหะจังหวัดลพบุรี และ นิคมสร้างตนเองจังหวัดลพบุรี 8) จังหวัดสิงห์บุรี 2 แห่ง ได้แก่ ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่งจังหวัดสิงห์บุรี และบ้านพักเด็กและครอบครัวจังหวัดสิงห์บุรี 9)  จังหวัดนนทบุรี 3 แห่ง ได้แก่ ศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสตรีและครอบครัวภาคกลาง ศูนย์บริการคนพิการจังหวัดนนทบุรี และสถานแรกรับเด็กชายปากเกร็ด(บ้านนนทภูมิ) 10) จังหวัดนครสวรรค์ 2  แห่ง ได้แก่ ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่งจังหวัดนครสวรรค์และบ้านพักเด็กและครอบครัวจังหวัดนครสวรรค์  11) จังหวัดอุทัยธานี 2 แห่ง ได้แก่ ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่งจังหวัดอุทัยธานีและบ้านพักเด็กและครอบครัวจังหวัดอุทัยธานี 12) จังหวัดกาญจนบุรี 2 แห่ง ได้แก่ ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่งจังหวัดกาญจนบุรีและบ้านพักเด็กและครอบครัวจังหวัดกาญจนบุรี 13) จังหวัดราชบุรี 3 แห่ง ได้แก่ ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่งจังหวัดราชบุรี บ้านพักเด็กและครอบครัวจังหวัดราชบุรี และสถานคุ้มครองและพัฒนาคนพิการจังหวัดราชบุรี 14) จังหวัดสมุทรสงคราม 2 แห่ง ได้แก่ ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่งจังหวัดสมุทรสงครามและบ้านพักเด็กและครอบครัวจังหวัดสมุทรสงคราม 15) จังหวัดสมุทรสาคร 2 แห่ง ได้แก่ ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่งจังหวัดสมุทรสาครและบ้านพักเด็กและครอบครัวจังหวัดสมุทรสาคร 16) จังหวัดปทุมธานี 2 แห่ง ได้แก่ ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่งจังหวัดปทุมธานีและบ้านพักเด็กและครอบครัวจังหวัดปทุมธานี 17) นครนายก 2 แห่ง ได้แก่ ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่งจังหวัดนครนายกและบ้านพักเด็กและครอบครัวจังหวัดนครนายก 18) จังหวัดสระบุรี 2 แห่ง ได้แก่ ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่งจังหวัดสระบุรีและบ้านพักเด็กและครอบครัวจังหวัดสระบุรี และ 19) จังหวัดอ่างทอง 2 แห่ง ได้แก่ ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่งจังหวัดอ่างทองและบ้านพักเด็กและครอบครัวจังหวัดอ่างทอง

          2. ภาคเหนือ 15 จังหวัด 51 แห่ง ดังนี้ 1) จังหวัดเชียงราย 7 แห่ง ได้แก่ ศูนย์พัฒนาราษฎรบนพื้นที่สูงจังหวัดเชียงราย  ศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสตรีและครอบครัวจังหวัดเชียงราย บ้านพักเด็กและครอบครัวจังหวัดเชียงราย ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่งจังหวัดเชียงราย บ้านเอื้ออาทรจังหวัดเชียงราย ริมกก  แม่สาย1 และแม่สาย2  2) จังหวัดเชียงใหม่ 8 แห่ง ได้แก่ บ้านเอื้ออาทรจังหวัดเชียงใหม่ สันผีเสื้อ หนองหอย และหนองหอย 2 สถานสงเคราะห์เด็กบ้านเวียงพิงค์ สถานสงเคราะห์เด็กชายบ้านเชียงใหม่  บ้านพักเด็กและครอบครัวจังหวัดเชียงใหม่ ศูนย์พักพัฒนาศักยภาพและอาชีพคนพิการหยาดฝน และ 8) ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุบ้านธรรมปกรณ์ 3) จังหวัดแม่ฮ่องสอน 2 แห่ง ได้แก่ ศูนย์พัฒนาราษฎรบนพื้นที่สูงจังหวัดแม่ฮ่องสอน และบ้านพักเด็กและครอบครัวจังหวัดแม่ฮ่องสอน 4) จังหวัดลำพูน 5 แห่ง ได้แก่  ศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสตรีและครอบครัวจังหวัดลำพูน บ้านพักเด็กและครอบครัวจังหวัดลำพูน ศูนย์ราษฎรบนพื้นที่สูงจังหวัดลำพูน ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่งจังหวัดลำพูน และศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุตำบลอุโมงค์  5) จังหวัดลำปาง 1 แห่ง ได้แก่ ศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสตรีและครอบครัวภาคเหนือ 6) จังหวัดพะเยา 2 แห่ง ได้แก่ บ้านพักเด็กและครอบครัวจังหวัดพะเยา และศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่งจังหวัดพะเยา 7) จังหวัดน่าน 2 แห่ง ได้แก่ บ้านพักเด็กและครอบครัวจังหวัดน่าน และศูนย์พัฒนาราษฎรบนพื้นที่สูงจังหวัดน่าน  8) จังหวัดแพร่ 2 แห่ง ได้แก่ บ้านพักเด็กและครอบครัวจังหวัดแพร่ และศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่งจังหวัดแพร่ 9) จังหวัดสุโขทัย 2 แห่ง ได้แก่ บ้านพักเด็กและครอบครัวจังหวัดสุโขทัย และศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่งจังหวัดสุโขทัย 10) จังหวัดอุตรดิตถ์ 5 แห่ง ได้แก่ ศูนย์บริการคนพิการจังหวัดอุตรดิตถ์ บ้านพักเด็กและครอบครัวจังหวัดอุตรดิตถ์ นิคมสร้างตนเองน้ำน่าน สำนักงานเคหะจังหวัดอุตรดิตถ์ และสำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 8 11) จังหวัดพิษณุโลก 3 แห่ง ได้แก่ บ้านพักเด็กและครอบครัวจังหวัดพิษณุโลก ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่งจังหวัดพิษณุโลก และนิคมสร้างตนเองบางระกำ 12) จังหวัดเพชรบูรณ์ 5 แห่ง ได้แก่ บ้านพักเด็กและครอบครัวจังหวัดเพชรบูรณ์ ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่งจังหวัดเพชรบูรณ์ ศูนย์พัฒนาราษฎรบนพื้นที่สูงจังหวัดเพชรบูรณ์ เขตเขาค้อและเขตภูทับเบิก และการเคหะจังหวัดเพชรบูรณ์ 13) จังหวัดตาก 3 แห่ง ได้แก่ ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่งจังหวัดตาก สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดตาก และบ้านพักเด็กและครอบครัวจังหวัดตาก 14) จังหวัดกำแพงเพชร 2 แห่ง ได้แก่ บ้านพักเด็กและครอบครัวจังหวัดกำแพงเพชร และศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่งจังหวัดกำแพงเพชร และ 15) จังหวัดพิจิตร 2 แห่ง ได้แก่ บ้านพักเด็กและครอบครัวจังหวัดพิจิตร และศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่งจังหวัดพิจิตร

          3. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 20 จังหวัด 37 แห่ง ดังนี้ 1) จังหวัดหนองคาย 3 แห่ง ได้แก่ บ้านพักเด็กและครอบครัวจังหวัดหนองคาย สถานพัฒนาและฟื้นฟูเด็กจังหวัดหนองคาย และนิคมสร้างตนเองโพนพิสัย 2) จังหวัดเลย 2 แห่ง ได้แก่ บ้านพักเด็กและครอบครัวจังหวัดเลย และ ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่งจังหวัดเลย 3) มุกดาหาร 2 แห่ง ได้แก่ บ้านพักเด็กและครอบครัวจังหวัดมุกดาหาร และ ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่งจังหวัดมุกดาหาร 4) จังหวัดบึงกาฬ 2 แห่ง ได้แก่ บ้านพักเด็กและครอบครัวจังหวัดบึงกาฬ และศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่งจังหวัดบึงกาฬ 5) จังหวัดอุบลราชธานี 2 แห่ง ได้แก่ ศูนย์พัฒนาศักยภาพและอาชีพคนพิการบ้านศรีวนาไล และ ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่งจังหวัดอุบลราชธานี 6) จังหวัดนครพนม 3 แห่ง ได้แก่ บ้านพักเด็กและครอบครัวจังหวัดนครพนม  ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่งจังหวัดนครพนม และ ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุจังหวัดนครพนม 7) จังหวัดขอนแก่น 3 แห่ง ได้แก่ บ้านพักเด็กและครอบครัวจังหวัดขอนแก่น  ศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสตรีและครอบครัวรัตนาภาจังหวัดขอนแก่น และศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุจังหวัดขอนแก่น  8) จังหวัดอุดรธานี 3 แห่ง ได้แก่ นิคมสร้างตนเองเชียงพิณ  นิคมสร้างตนเองห้วยหลวง และ สถานสงเคราะห์เด็กหญิงจังหวัดอุดรธานี 9) จังหวัดร้อยเอ็ด 2 แห่ง ได้แก่ บ้านพักเด็กและครอบครัวจังหวัดร้อยเอ็ด และศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่งจังหวัดร้อยเอ็ด 10) จังหวัดอำนาจเจริญ 1 แห่ง ได้แก่ บ้านพักเด็กและครอบครัวจังหวัดอำนาจเจริญ 11) จังหวัดกาฬสินธุ์ 1 แห่ง ได้แก่ บ้านพักเด็กและครอบครัวจังหวัดกาฬสินธุ์ 12) จังหวัดสกลนคร 2 แห่ง ได้แก่ บ้านพักเด็กและครอบครัวจังหวัดสกลนคร และศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่งจังหวัดสกลนคร 13) มหาสารคาม 2 แห่ง ได้แก่ ศูนย์ชุมชนบ้านเอื้ออาทรจังหวัดมหาสารคามและบ้านพักเด็กและครอบครัวจังหวัดมหาสารคาม 14) จังหวัดหนองบัวลำภู 1 แห่ง ได้แก่ บ้านพักเด็กและครอบครัวจังหวัดหนองบัวลำภู 15) จังหวัดชัยภูมิ 2 แห่ง ได้แก่ บ้านพักเด็กและครอบครัวจังหวัดชัยภูมิ และศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่งจังหวัดชัยภูมิ 16) จังหวัดนครราชสีมา 1 แห่ง ได้แก่ สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดนครราชสีมา 17) จังหวัดบุรีรัมย์ 1 แห่ง ได้แก่ ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุบ้านบุรีรัมย์ 18) จังหวัดยโสธร 2 แห่ง ได้แก่ ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่งจังหวัดยโสธรและบ้านพักเด็กและครอบครัวจังหวัดยโสธร 19) จังหวัดศรีสะเกษ 1 แห่ง ได้แก่ ศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสตรีและครอบครัวภาคตะวันออกเฉียงเหนือจังหวัดศรีสะเกษ และ 20) จังหวัดสุรินทร์ 1 แห่ง ได้แก่ สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดสุรินทร์ 

          4. ภาคตะวันออก 7 จังหวัด 19 แห่ง ดังนี้ 1) จังหวัดตราด 2 แห่ง ได้แก่ บ้านพักเด็กและครอบครัวจังหวัดตราดและศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่งจังหวัดตราด 2) จังหวัดระยอง 6 แห่ง ได้แก่ สถานคุ้มครองสวัสดิภาพเด็กจังหวัดระยอง บ้านพักเด็กและครอบครัวจังหวัดระยอง ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่งจังหวัดระยอง ศูนย์ชุมชนบ้านเอื้ออาทรจังหวัดระยอง น้ำคอก ประแสร์ 1 และประแสร์ 1  3) จังหวัดฉะเชิงเทรา 3 แห่ง ได้แก่ สถานคุ้มครองและพัฒนาคนพิการบางปะกง บ้านพักเด็กและครอบครัวจังหวัดฉะเชิงเทรา และศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่งจังหวัดฉะเชิงเทรา 4) จังหวัดปราจีนบุรี 2 แห่ง ได้แก่ บ้านพักเด็กและครอบครัวจังหวัดปราจีนบุรีและศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่งจังหวัดปราจีนบุรี 5) จังหวัดสระแก้ว 2 แห่ง ได้แก่ บ้านพักเด็กและครอบครัวจังหวัดสระแก้วและศูนย์บูรณาการการคัดแยกผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์จังหวัดสระแก้ว 6) จังหวัดชลบุรี 2 แห่ง ได้แก่ บ้านพักเด็กและครอบครัวจังหวัดชลบุรีและศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่งจังหวัดชลบุรี และ 7) จังหวัดจันทบุรี 2 แห่ง ได้แก่ บ้านพักเด็กและครอบครัวจังหวัดจันทบุรีและศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง

          และ 5. ภาคใต้ 16 จังหวัด 42 แห่ง

ที่มาของข่าว สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์
^ กลับสู่เนื้อหาหลัก