ขณะนี้คุณอยู่ที่ ›

“การศึกษากับคนพิการ ตอนที่ 2”

อาจารย์ เทอดเกียรติ ฉายจรุง อาจารย์ประจำหลักสูตรการศึกษาพิเศษและการสอนภาษาไทย มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
               อ.เทอดเกียรติ กล่าวว่า ปัญหาของเด็กพิการที่อยากเรียนต้องได้เรียน ในมุมมองของผมคือ ตอนนี้ขึ้นอยู่กับจิตเมตตาของผู้บริหาร โรงเรียนขนาดเล็กๆ ตามต่างจังหวัด ท่านผู้บริหารบางท่านมีจิตเมตตาทำห้องน้ำให้เด็ก เด็กบางคนสามารถเรียนได้จนถึง ม.6 จนถึงมหาวิทยาลัยสามารถเรียนต่อได้ เพราะแต่ละมหาวิทยาลัยเปิดกว้าง ปัญหาอยู่ที่คุณสามารถเข้ามาได้หรือไม่ ปัญหาที่เกิดขึ้นมากที่สุดอยู่ที่โรงเรียนประถม 1 – 6 และมัธยม 1 - 6 ถ้าไม่มีจิตเมตตาของผู้บริหารเด็กไม่สามารถเรียนได้ จะถอยไปอยู่ที่บ้านสักพัก แล้วจึงจะได้เรียน การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) ถ้าสมมุติว่าทุกคนที่เป็นผู้บริหารโรงเรียน มีความเชื่อร่วมกันว่า ทุกคนมีธรรมชาติต่างกัน แต่มีสิ่งหนึ่งที่เหมือนกันคือ “ทุกคนมีศักยภาพที่สามารถพัฒนาได้” อ้างอิงจาก คาร์ล โรเจอร์ หมายความว่าทุกคนจะคิดไปในแนวเดียวกัน “ใครก็ได้สามารถเข้ามาเรียนในโรงเรียน ทุกคนสามารถพัฒนาได้” โดยไม่เลือกว่า จนหรือรวย ผิวขาวหรือผิวดำ เพศที่หนึ่งหรือเพศที่สอง พิการหรือไม่พิการ สถานที่แต่ละที่ โรงเรียนแต่ละแห่งมาตรฐานยังไม่เหมือนกัน
         แนวทางของการให้คำปรึกษา เน้นที่ตัวของเด็กจะต้องได้รับการฟื้นฟู ได้รับการเตรียมความพร้อมในหลายด้าน เช่น ด้านร่างกาย ด้านสติปัญญา ด้านอารมณ์ และสังคม เด็กจะต้องเตรียมความพร้อมที่ศูนย์การศึกษาพิเศษ ในกรุงเทพที่ศูนย์การศึกษาพิเศษส่วนกลางดินแดง หรือไปที่สถาบันสิรินธร เพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ กรมการแพทย์ หรือ ศูนย์การศึกษาพิเศษเขต 1 เมื่อเตรียมความพร้อมเด็กสามารถช่วยเหลือตนเองได้ในระดับหนึ่ง สามารถปั่นรถวิลแชร์เองได้ กินข้าวเองได้ เข้าห้องน้ำเองได้ สามารถดูแลตัวเองได้ในเบื้องต้น หน่วยงานจะส่งไปที่โรงเรียนเรียนร่วมที่รับเด็กพิการ ส่วนในแง่มุมของการฟื้นฟู อยากแนะนำให้ท่านพาบุตรหลานไปเรียนเฉพาะทางก่อนยิ่งดี เด็กจะแข็งแรงมากขึ้น เด็กจะแข็งแกร่ง และทางด้านนักวิชาการ ด้านการแพทย์ อยากให้เข้าสังคมเลย คือเรียนร่วมเลย แต่มีข้อควรระวังหลายข้อ ในยุคสมัยปัจจุบันการบูลลี่ค่อนข้างมาก อย่างน้อยเตรียมความพร้อมให้เด็กแข็งแกร่งขึ้นเพื่อให้เด็กสามารถรับมือได้        
         อ.เทอดเกียรติ ทิ้งท้ายว่า “อยากให้ทุก ๆ บ้านที่มีน้อง ๆ ที่เป็นคนพิการ คนที่มีความบกพร่อง ไม่อยากให้สูญเสียโอกาสทางการศึกษาหรือคนที่เป็นรอยต่อระหว่างความพิการที่เกิดจากอุบัติเหตุ อย่าให้เขาหยุดเรียนเพียงเพราะว่าเกิดความพิการ เมื่อรักษาแล้ว ฟื้นฟูแล้วให้ติดต่อกลับไปเรียนเหมือนเดิมจะได้ไม่ขาดโอกาสในการเรียน การเรียนได้มากว่าที่คิด ได้สังคม ได้ความรู้ ได้สิ่งต่าง ๆ ที่บ้านไม่มีให้ และทำให้เด็ก หูตากว้างไกล”

... สามารถติดตามรับฟังรายการรวมใจเป็นหนึ่ง ได้ทางสถานีวิทยุศึกษา FM 92 MHz หรือ www.moeradiothai.net
 
 
รายการรวมใจเป็นหนึ่ง ออกอากาศทุกวันเสาร์และวันอาทิตย์ เวลา 18.30-19.00 น. ทางสถานีวิทยุศึกษา FM 92 MHz

ภาพประกอบรายการวิทยุรวมใจเป็นหนึ่ง

แบบประเมินคุณภาพสื่อ สสพ.

คุณพอใจกับคุณภาพสื่อข้างต้นมากน้อยเพียงใด
  • พอใจมาก0
  • พอใจ0
  • ปานกลาง0
  • ไม่พอใจ0
  • ไม่พอใจมาก0
^ กลับสู่เนื้อหาหลัก